วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
7.การเลี้ยงและจับจำหน่าย
ระยะในการเลี้ยงและจัดจำหน่าย
ระยะการเลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดของกุ้งที่ตลาดต้องการ โดยทั่วไปหลังจากเลี้ยง 6 เดือน จะเริ่มทำการคัดขนาดและจับขายโดยคัดกุ้งขนาดใหญ่ที่มีอยู่ออกขาย เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มจับกุ้งจิ๊กโก๋ ถ้าพลาดและกุ้งตัวเมียออกขายก่อนเพื่อให้กุ้งตัวผู้ส่วนใหญ่ที่เหลือเจริญเติบโตได้ดี หลังจากนั้นจะทำการจับในช่วง 1 เดือนครึ่ง - 2 เดือน ถ้ามีกุ้งน้อยควรวิดบ่อจับกุ้งขายให้หมดในการจับแต่ละครั้งควรใช้อวนขนาดช่องตาประมาณ 4 เซนติเมตร เพื่อให้กุ้งที่มีขนาดเล็กลอดไปได้และลดการบอบช้ำ ในการจับให้ได้ผลดีเกษตรกรควรลดระดับน้ำให้เหลือประมาณ 50 เซนติเมตร พร้อมกับใช้อวนที่มีตีนอวนหนัก(ตะกั่วถ่วง) เชือกคร่าวบนเวลาลากจะใช้ไม้ไผ่ค้ำไว้โดยอาจเสียบกับต้นกล้วยที่ตัดมาทำทุ่นลอย การจับกุ้งมักนิยมจับในช่วงเช้าเนื่องจากอากาศไม่ร้อนมาก
6.การถ่ายเทน้ำในบ่อ
การถ่ายเทน้ำในบ่อ
การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามนั้นต้องมีการตรวจสภาพน้ำในบ่อเป็นประจำ โดยเฉพาะน้ำในบ่อที่เขียวจัด จะทำให้เกิดภาวะการขาดออกซิเจนซึ่งทำให้กุ้งตายได้ง่าย การแก้ไขต้องกระทำโดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างรีบด่วน นอกจากนี้การถ่ายน้ำยังมีส่วนสัมพันธ์กับอายุขนาดของกุ้ง การเจริญเติบโตโดยน้ำใหม่จะกระตุ้นให้กุ้งลอกคราบ สำหรับการเลี้ยงช่วง 1-2 เดือนแรกอาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำแต่ใช้วิธีเพิ่มระดับน้ำทุกสัปดาห์ หลังจากนั้นในเดือนที่ 3 และถัดมาอาจมีการถ่ายเปลี่ยนน้ำเดือนละ 2-4 ครั้งโดยถ่ายน้ำครั้งละ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 2 ของน้ำในบ่อขึ้นอยู่กับสภาพน้ำในบ่อทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาล
การถ่ายเทน้ำอาจจะทำควบคู่กับการใช้โซ่ลากก้นบ่อ 2-3 ครั้ง ต่อการถ่ายเทน้ำแต่ละครั้งเพื่อกำจัดของเสียก้นบ่อ ในกรณีก้นบ่อมีเศษอาหารและของเสียหมักหมมมาก วิธีนี้จะไม่เหมาะสมและเป็นอันตรายต่อกุ้ง การระบายน้ำก้นบ่อให้มากที่สุดอาจเสริมด้วยการดูดเลน หลังจากเลี้ยงกุ้งได้ 4-5 เดือนโดยทำ 1-2 เดือนต่อครั้ง ในช่วงที่ทำการสูบน้ำควรลดปริมาณอาหารที่ให้ลดลง 1-2 วัน เพราะกุ้งบางส่วนได้น้ำใหม่จะลอกคราบทำให้อ่อนแอไม่กินอาหารในวันนั้นๆท คุณค่าทางอาหารของอาหารกุ้งควรมีโปรตีน 20% หรือระหว่าง 17-25% การเพิ่มหรือลดอาหารที่ให้ต่อวัน ควรกระทำโดยการตรวจสอบการกินอาหารของกุ้งในแต่ละวันเสียก่อนว่าเหลือหรือไม่ ถ้าหมดจะต้องให้เพิ่มมากขึ้นแต่ต้องไม่มากเกินไปจนเหลือและเน่าเสีย การตรวจสอบการกระทำหลังจากให้อาหารไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง สำหรับฝนตกหรือมีอาการเปลี่ยนแปลงมากๆ หรือมีหมอกลงไม่ควรให้อาหารหรืออาจจะให้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย
5.อาหารและการให้อาหาร
อาหารและการให้อาหาร
กุ้งก้ามกรามเป็นสัตว์น้ำที่กินอาหารทุกชนิดแต่ที่ชอบคือ อาหารจำพวกเนื้อสัตว์เช่น ปลาสด หอย เนื่องจากกุ้งมีทางเดินอาหารคือ กระเพาะและลำไส้สั้น ดังนั้น จึงควรให้อาหารในปริมาณน้อยแต่ให้บ่อยครั้งอย่างน้อยวันละ 2-4 ครั้ง โดยแบ่งให้ทีละส่วนจนครบปิมาณที่ให้ต่อวัน อัตราการให้อาหารลูกกุ้งในช่วงแรกประมาณ 30-40% ของน้ำหนักกุ้งเดือนแรกหลังจากนั้นลดลงมาเหลือ 3-5% ของน้ำหนักตัวกุ้งที่เลี้ยงต่อวันในเดือนที่ 3 ประมาณอาหารที่ให้ในเดือนแรกตามอัตราการปล่อยที่กำหนดประมาณ 0.5-1.0 กก./ไร่/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 1.0-2.0 กก./ไร่/วัน ในเดือนที่ 2 เนื่องจากกุ้งกินอาหารด้วยวิธีการแทะ ดังนั้นอาหารของกุ้งควรเป็นอาหารจมชนิดเม็ดหรือแท่งสั้นๆ เพื่อสะดวกในการกัดกินและคงสภาพในน้ำได้นานประมาณ 6-12 ชั่วโมง โดยไม่ละลายน้ำถ้าละลายน้ำง่ายจะทำให้ผิวพื้นบ่อกุ้งเสียง่ายน้ำที่ใช้เลี้ยงคุณภาพไม่เหมาะสม ผลผลิตขั้นสุดท้ายของกุ้งลดต่ำเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงเวลาการให้อาหารควรให้อาหารกุ้งวันละ 2-4 ครั้ง ปกติกุ้งจะกินอาหารได้ดีและกลางคืน ดังนั้นอาจจะแบ่งอาหารให้เป็นช่วงเช้าเพียงเล็กน้อย และให้มากในเวลา
ตอนเย็นถ้าให้อาหารวันละ 2 มื้อ โดยให้ช่วงเช้า 3 ส่วน ช่วงเย็น 7 ส่วน อาหารที่ใหม่จะมีกลิ่นหอมชวนให้กุ้งกินอาหารได้ดี
วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
4.การปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามและอัตราการปล่อย
การปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามลงเลี้ยง
พันธุ์กุ้งที่จะปล่อยควรปรับให้อยู่ในสภาพน้ำจืดแล้วไม่ต่ำกว่า 2-3 วัน และไม่มีลักษณะขาวขุ่นของลำตัวคล้ายเม็ดข้าวเหนียว นอกจากนี้กุ้งที่จะปล่อยควรมีลักษณะเคลื่อนไหว ปราดเปรียวอัตราการปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10 ตัว/ตารางเมตร ซึ่งเป็นลูกกุ้งที่คว่ำแล้วหรือลูกกุ้งขนาด 1-2 เซนติเมตร ถ้าหากปล่อยประมาณ 30 ตัว/ตารางเมตร หรือ 48,000 ตัว/ไร่ นาน 3 เดือน จึงย้ายลงบ่อเลี้ยงในอัตรา 5-10 ตัว/ตารางเมตร
พันธุ์กุ้งที่จะปล่อยควรปรับให้อยู่ในสภาพน้ำจืดแล้วไม่ต่ำกว่า 2-3 วัน และไม่มีลักษณะขาวขุ่นของลำตัวคล้ายเม็ดข้าวเหนียว นอกจากนี้กุ้งที่จะปล่อยควรมีลักษณะเคลื่อนไหว ปราดเปรียวอัตราการปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10 ตัว/ตารางเมตร ซึ่งเป็นลูกกุ้งที่คว่ำแล้วหรือลูกกุ้งขนาด 1-2 เซนติเมตร ถ้าหากปล่อยประมาณ 30 ตัว/ตารางเมตร หรือ 48,000 ตัว/ไร่ นาน 3 เดือน จึงย้ายลงบ่อเลี้ยงในอัตรา 5-10 ตัว/ตารางเมตรเวลาที่ปล่อยพันธุ์กุ้งเลี้ยงดีที่สุดถึงเวลาเช้าเวลาเย็น โดยระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร วิธีการปล่อยต้องนำถุงพลาสติกที่บรรจุลูกกุ้งแช่ในบ่อประมาณ 20 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำหลังจากนั้นจึงเปิดถุงออกแล้วค่อยๆเติมน้ำในบ่อเลี้ยงผสมกับน้ำในถุงให้เท่ากันก่อน การปล่อยกุ้งลงเลี้ยง การปล่อยกุ้งลงเลี้ยงทันทีอาจทำให้กุ้งช๊อคหรือตายเกือบหมดในขณะที่จะทำการปล่อยกุ้ง หากสามารถสูบน้ำเข้าบ่อบริเวณที่จะทำการปล่อยพันธุ์กุ้งได้จะช่วยให้กุ้งมีความแข็งแรงมากขึ้น
3.การเตรียมน้ำเลี้ยงกุ้ง
การเตรียมน้ำเลี้ยงกุ้ง
ถ้าน้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งมีคุณภาพดีสามารถสูบน้ำลงเลี้ยงได้โดยตรง โดยไม่ต้องสูบฟักในบ่อพักน้ำเมื่อสูบน้ำเข้าบ่อควรกักน้ำไว้ในบ่อ 2-3 วัน เพื่อให้น้ำปรับสภาพเข้าสู่ภาวะสมดุลเสียก่อน สำหรับน้ำที่ใช้สูบเข้าบ่อเลี้ยง หากเป็นน้ำที่มาจากแม่น้ำลำคลองควรมีบ่อเก็บน้ำตากพักไว้ให้ธรรมชาติปรับสภาพน้ำให้มีคุณสมบัติเหมาะสมก่อนแล้วจึงสูบผ่านตะแกรงหรือผ้ากรองเพื่อลดปริมาณสารตกค้างและศัตรูกุ้งที่ปนมากับน้ำ
2.การเลือกสถานที่
ปัจจัยในการเลือกสถานที่
การเลือกสถานที่นับว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมความสำเร็จ
1. คุณภาพดิน ควรเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนซึ่งจะช่วยเก็บกักน้ำได้ดีและคันดินไม่พังทลายง่าย ไม่ควรเป็นดินเปรี้ยวจัดเมื่อเก็บกักน้ำทำให้น้ำเป็นกรดซึ่งไม่เหมาะสมต่อการเลี้ยง อาจทำให้กุ้งตายหมด
2. คุณภาพน้ำ แหล่งน้ำควรมีคุณภาพดี สะอาด ปราศจากสารเคมี สารพิษ ของเสียจากโรงงาน อุตสาหกรรม แหล่งชุมชน ยาฆ่าแมลง และแหล่งน้ำควรมีปริมาณเพียงพอต่อการสูบใช้ตลอดทั้งปี
1.แหล่งที่อยู่อาศัย
แหล่งที่อยู่อาศัย
กุ้งก้ามกรามอาศัยในแหล่งน้ำจืด ซึ่งมีทางน้ำไหลติดต่อกับน้ำทะเล จึงสามารถดำรงชีพได้ทั้งในน้ำกร่อยและน้ำจืด เคยมีชุกชุมในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง ทางภาคใต้พบที่แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปี โดยเฉพาะในทะเลสาบสงขลาและพัทลุง มีชุกชุมมากที่สุด ความอุดมสมบูรณ์ของกุ้งก้ามกรามในแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดลง เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น การทำการประมงมากเกินควร การทำการประมงผิดวิธี ปัญหาจากมลภาวะต่างๆ การเพิ่มขึ้นของประชากรดังนั้น การเพาะเลี้ยงเพื่อชดเชยจากธรรมชาติ ได้พัฒนาการขึ้นมาตามลำดับทำให้การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเป็นอาชีพหนึ่งซึ่งทำรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามให้ประสบผลสำเร็จนั้นต้องอาศัยความรู้ ความเอาใจใส่ พร้อมทั้งได้พันธุ์กุ้งก้ามกรามที่ดีและแข็งแรง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)